โชว์เครื่องเสียงประกอบเอง Show Show > โชว์พาวเวอร์แอมป์ประกอบเอง

เมื่อ Hafler กับ Class-TD มารวมกัน

(1/29) > >>

DIGITCLASS™:
เจียดเวลาว่างหลังจากการทำงานมาทั้งวัน สักวันละ 1-2 ชั้วโมง มาทำ Class-TD กันจริงๆจังๆสักที :35:
เมื่อเอ่ยถึง Class-TD, Class-HD หรือ EEEngine เป็นเทคโนโลยีแอมป์ประหยัดพลังงาน ประสิทธิภาพสูง กินกำลังงานน้อยแต่ให้กำลังออกสูง การสูญเสียทางด้านความร้อนต่ำมากๆ เทียบเท่าได้กับ Class-D
แต่คุณภาพเสียงที่ได้เทียบเท่ากับ Class-AB เพราะวงจรพาวเวอร์แอมป์มันคือ Class-AB หลายท่านคงทราบกันดีอยู่แล้วว่ามันทำงานอย่างไร ก็คงจะไม่กล่าวถึงในหลัการทำงานของมันนะครับ

DIGITCLASS™:
ถึงเวลาเลือกหาสุดยอดวงจรแอมป์กันแล้วครับ หลังจากที่ค้นตำราวงจรอยู่หลายเล่ม หนึ่งในนั้นก็คงหนีไม่พ้นวงจร Hafler อันโด่งดัง ซึ่งแนวเสียงเป็นที่ชื่นชอบถูกอกถูกใจของใครหลายคน
ขอนำแนวคิดจากวงจรแอมป์ของตุลา รุ่น M1255 MFP จากหนังสือค่าย SE-ED มาเป็นแนวทางในการออกแบบ ซึ่งวงจร Differential ภาคหน้าต่อกันแบบ Cascode
ซึ่งผลจากการต่อวงจรในลักษณะนี้ทำให้เกิดความเพี้ยนต่ำ ตอบสนองความถี่ได้กว้าง แถมเรายังไม่จำเป็นต้องได้ทรานซิสเตอร์คู่ดิฟที่ทนไฟสูงๆ เราสามารถเลือกใช้คู่ดิฟโวลท์ต่ำที่เป็นชนิด Low-noise ได้หลายเบอร์ :icon14:
งานนี้ต้องทำการออกแบบให้วงจรใช้งานกับไฟเลี้ยงสูงๆได้ ประมาณ +/-200V   :boxing: ตัดภาค DC-Servo ออก คัดเกรดคู่ดิฟดีๆรับรองแจ่มกว่าใช้วงจร DC-Servo ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
หลังจากที่เลือกหาอุปกรณ์อยู่พักใหญ่ จากนั้น simulate วัดไฟตามจุดต่างๆ ปรับแต่งเล็กน้อย :ok: :ok: ผ่าน... :happy2:

DIGITCLASS™:
ออกแบบภาคจ่ายไฟ Class-TD ที่เห็นหลายท่านทำกันอยู่ก็จะเป็นระบบ EEEngine จาก YAMAHA ซึ่งสร้างง่ายไม่ซับซ้อน แต่เมื่อเทียบประสิทธิภาพกับ Class-TD ของ Lab.xxx แล้ว ประสิทธิภาพจะสูงกว่าเกิดความร้อนน้อยกว่าระบบ EEEngine
ซึ่งความร้อนส่วนหนึ่งของ EEEngine เกิดจากภาค High-Speed Voltage Buffer เป็นวงจรจ่ายแรงดันช่วยชุด Mosfet หรือ TR สวิตชิ่ง   เมื่อประสิทธิภาพสูงกว่า นั้นย่อมหมายถึงกำลังวัตต์ขาออกจะมากกว่าในขณะที่ใช้แหล่งจ่ายไฟตัวเดียวกัน :afro:
งานนี้ต้องขอยืมสุดยอดวงจรภาคจ่ายไฟ Class-TD ของ Lab.xxx มาใช้คงไม่ว่ากัน  :34: :34: แอมป์ค่ายใหญ่ที่ทำคลาส HD ในไทยก็ใช้วงจรจาก Lab.xxx เหมือนกัน  :icecream:
ของตั้งชื่อใหม่ว่า TD+ และกัน  :33:
ทำการออกแบบลายปริ้น ทดสอบ ดัดแปลงจากวงจรต้นแบบเล็กน้อย เพิ่มวงจร VI-limiter จับแรงดันที่ขา RE ของ TR เอ้าพุต กรณีสายลำโพงช๊อตจะไม่เกิดความเสียหาย  ลงอุปกรณ์ต้นแบบไปประมาณ 90% หน้าตาก็ประมาณนี้ ใช้วาลาประมาณ 1 เดือนกว่าจะเสร็จ :35:

NIKOM:
 :01: :01: :01:  โอ๊ว...อ.ทิวา สุดยอดครับ  :icecream: :icecream: :icecream:

DIGITCLASS™:
ยึด TR กับซิ้งค์เรียบร้อย จัดเทสกับไฟตามภาพ วัดบวกกับลบ ได้ 391.3V ขาดอีกฝั่งละ 4.35V  :40:
เสียงที่ได้เกิดความคาดหมาย อลังการ เบสเป็นลูกแน่นหนึบ กลางหวาน แหลมสะอาดซิบๆ  :icon14: สมกับ Hafler (ตุลา)
ไว้ว่างๆเดี๋ยวไปทดสอบภาคสนามอีกทีครับ
 :01:

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version