บอร์ดไดรว์ คลาส AB > บอร์ดไดรว์ คลาส AB By DIGITCLASS

เทคนิคการปรับแต่งบอร์ดไดรว์ของ DIGITCLASS ให้ทนทานและเสียงดี

(1/14) > >>

DIGITCLASS™:
 :01:
เทคนิคการปรับแต่งบอร์ดไดร์ของ DIGITCLASS ให้ทนทานและเสียงดี

-ในการประกอบพาวเวอร์แอมป์วัตต์สูงสักตัวหนึ่ง สิ่งสำคัญที่สุดคือความละเอียดรอบคอบในการทำงาน ให้ใจเย็นๆ อย่ารีบร้อน เพราะถ้าเกิดผิดพลาดขึ้นมาอาจจะสูญเงินไปฟรีๆ

-ขั้นตอนแรก ให้ตรวจเช็คบอร์ดไดร์ก่อน มองดูด้วยตาว่ามีสิ่งผิดปรกติหรือเปล่า เช่น อุปกรณ์เกิดการชำรุดเสียหายเนื่องจากการขนส่งหรือเปล่า เมื่อทุกอย่างอยู่ในสภาพสมบูรณ์ก็เข้าสู่ขั้นตอนต่อไป

-สังเกตดู VR สองตัวบนบอร์ด บอร์ดไดร์ของดิจิทคลาสจะมี VR สองตัวบนบอร์ดทุกรุ่น บางท่านอาจจะสงสัยว่ามันเอาไว้ทำอะไร ปรับยังไง งง อิอิ :((126)): บางท่านขั้นเทพแล้วก็ผ่านๆ  :13_:

ตัวแรกไว้สำหรับปรับแรงดันดีซีออฟเซ็ท จะเขียนกำกับอยู่ข้างๆว่า OFFSET Adj. ไว้ปรับให้แรงดันไฟ DC ทางเอ้าพุตให้ได้ใกล้เคียง 0V มากที่สุด แรงดันจุดนี้ยิ่งใกล้ 0V เสียงยิ่งดี ตรงนี้ให้ใช้ไขควงปรับไว้ตำแหน่งกึ่งกลางก่อน (ปรกติจะปรับไว้ให้แล้ว)
ตัวที่สองไว้สำหรับปรับกระแสเฉื่อยหรือกระแสไอเดิล จะเขียนกำกับอยู่ข้างๆว่า IDLE Adj. ไว้ปรับกระแสให้คู่ไบโพล่าร์ทรานซิสเตอร์เอ้าพุตให้พร้อมที่จะทำงาน กระแสตรงนี้ถ้าปรับน้อยเกินไปก็จะทำให้คุณภาพเสียงที่ออกมาขาดรายละเอียด หยาบ กระด้าง
ถ้าปรับไว้มากเกินไปจะทำให้เครื่องร้อน ถ้าระบายความร้อนไม่ทันเครื่องอาจเสียหายได้ ปรกติควรปรับไว้ประมาณ 20-100mA แล้วแต่ลักษณะการนำเอาไปใช้งาน ตรงนี้ให้ใช้ไขควงปรับไว้ตำแหน่ง Min. ทวนเข็มนาฬิกา (บนบอร์ดจะเขียน Min, Max กำกับไว้ ปรกติจะปรับไว้ที่ ตำแหน่ง Min ให้แล้ว)



DIGITCLASS™:
-ขั้นตอนต่อมา จ่ายไฟให้บอร์ดไดร์ (ยังไม่ต้องต่อคู่ไบโพล่าร์ทรานซิสเตอร์เอ้าพุตนะครับ) สังเกตสิ่งผิดปรกติ เช่น แสง สี เสียง และกลิ่น อิอิ  :20: ถ้าทุกอย่างปรกติให้ใช้ปากคีบ คีบตำแหน่ง IN กับ GND (ช็อต IN ลงกราวด์)    :thumbsup:
ใช้มิเตอร์เข็มวัดไปที่เอ้าพุตของบอร์ดเทียบกับ GND ตั้งมิเตอร์ไปตำแหน่ง DC ต้องได้ใกล้เคียง 0V แต่ยังไม่ต้องปรับอะไร จากนั้นปลดปากคีบออก ตั้งมิเตอร์ไปตำแหน่ง AC 10V ลองใช้นิ้วแตะที่ IN จะสังเกตเห็นเข็มกระดิกตามจังหวะการแตะของนิ้วเรา  เมื่อได้ทุกอย่างตามนี้แล้ว บอร์ดไดร์ของเราก็พร้อมที่จะขับคู่ไบโพล่าร์เอ้าพุตแล้วครับ....เย้ๆๆๆ :police25: :police25:

DIGITCLASS™:
-ขั้นตอนต่อมา ปลดไฟออกจากบอร์ดไดร์ แล้วพักหาอะไรเย็นๆจิบไปก่อน...ใจเย็นๆครับ อย่ารีบร้อน..... :icecream: :40: :40:

-ขั้นตอนต่อมา ต่อคู่ไบโพล่าร์เข้ากับบอร์ดไดร์ให้เรียบร้อย ถอดทรานซิสเตอร์ชดเชยอุณหภูมิที่อยู่บนบอร์ดไดร์ ไปยึดไว้กับฮีตซิงค์เดียวกันกับไบโพล่าร์เอ้าท์พุต สำคัญมากนะครับสำหรับทรานซิสเตอร์ตัวนี้ เมื่อคู่ไบโพล่าร์เอ้าพุตเกิดความร้อนสูงขึ้น ทรานซิสเตอร์ตัวนี้จะช่วยลดกระแสของคู่ไบโพล่าร์เอ้าพุตลง ทำให้ไม่เกิดการวิ่งหนีทางความร้อนจนทำให้ไบโพล่าร์เอ้าพุตพัง อย่าลืมนำไปยึดกับซิ้งค์เดียวกันกับคู่เอ้าพุตทุกครั้งนะคร๊าบ.. :secret:



เช็คความถูกต้องก่อนจ่ายไฟเข้าบอร์ด เมื่อมั่นใจแล้วก็ลุยเลย..  :11_: แต่เดี๋ยวก่อน..!! อย่าพึ่งจ่ายไฟเข้าบอร์ด ก่อนอื่นให้ใช้ปากคีบ คีบตำแหน่ง IN กับ GND ก่อน (ช็อต IN ลงกราวด์)
ใช้มิเตอร์เข็มวัดไปที่เอ้าพุตของบอร์ดเทียบกับ GND  จากนั้นจ่ายไฟเข้าบอร์ดเลยครับ สังเกตสิ่งผิดปรกติ เช่น แสง สี เสียง และกลิ่น และสังเกตที่เข็มมิเตอร์จะต้องไม่ตีค้าง  ถ้าทุกอย่างปรกติก็เตรียมเข้าสู่ขั้นตอนการปรับแต่ง :20_:

DIGITCLASS™:
-ขั้นตอนต่อมา เราจะปรับแต่งแรงดัน DC ออฟเซ็ทกัน ตั้งมิเตอร์ไปที่ DC โวลท์ วัดที่เอ้าพุตเทียบ GND ค่อยๆ ปรับทีละนิดๆ ให้แรงดันจุดนี้ได้ใกล้เคียง 0V มากที่สุด บางบอร์ดอาจจะหมุนทวนเข็ม บางบอร์ดอาจะหมุนตามเข็มนาฬิกา ถ้าท่านใดมีมิเตอร์ดิจิตอลจะดีมากๆ จะมองเห็นตัวเลขได้ละเอียดกว่าแบบเข็ม

-จากเรานั้นมาปรับกระแสไอเดิลกัน ย้ายมิเตอร์ไปวัดแรงดันตกคร่อมขา RE ของคู่ไบโพลาร์เอ้าพุต ตัวใดตัวหนึ่ง ตัวใดก็ได้ที่เราสามารถทำการวัดได้สะดวก ขั้นตอนนี้อาจจะต้องอาศัยการคำนวณสักเล็กน้อย สมมติว่าเราต้องการปรับกระแสไอเดิล 30mA คู่ไบโพล่าร์จำนวน 10 คู่ กระแส 30mA นี้คือกระแสที่จะเฉลี่ยให้กับคู่ไบโพล่าร์แต่ละคู่เท่าๆกัน ดังนั้นกระแสที่ไหลผ่านไบโพลาร์แต่ละตัวจะเท่ากับ 3 mA (30mA/10คู่ = 3mA)  สมมติว่าเราใช้ RE ค่า 0.2 โอห์ม ดันนั้นแรงดันตกคร่อม RE จะต้องเท่ากับ 0.6mV (E=I*R =3mA*0.2 โอห์ม = 0.6mV)

-เอาหล่ะ.. เราได้เป้าหมายของเราแล้ว ต้องปรับให้ได้ 0.6mV ใช้ไขควงเล็กๆค่อยๆปรับกระแสขึ้นเรื่อยๆ จนมิเตอร์อ่านค่าได้ 0.6mV แล้วหยุดปรับ.....เฮ้อเหนื่อยจัง.. :35: :35:  เย้ๆเสร็จแล้วๆ.. :police25: :police25:

DIGITCLASS™:
-ยังๆๆๆยังไม่เสร็จ ช่วงนี้พักหาอะไรเย็นๆผ่อนคลายความเคลียดกันก่อน ปล่อยให้เครื่องของเราทำงานอุ่นเครื่องไปเรื่อยๆก่อน....ใจเย็นๆ สบายๆ ชิว ชิว  :40: :40: :13_:

-OK..หมดเบียร์ไปหนึ่งเหยือก มาดูกันต่อว่าเครื่องเราปรกติดีอยู่หรือเปล่า วัดแรงดัน DC ออฟเซ็ทอีกทีว่ายังเป็นใกล้เคียง 0V อยู่หรือเปล่า ลองปรับอีกสักทีซิ เอาให้มันนิ่งสุดๆ เสียงจะได้แจ่มๆ..อิอิ  :afro: :afro:

-มาวัดกระแสไอเดิลกันอีกที่ ทำตามขั้นตอนที่เราเคยทำมา  :icecream: อ้าว..!! ทำไมกระแสไม่ได้ตามที่เราเคยปรับไว้ในครั้งแรก.. :102: อย่าพึ่งตกใจ มันยังไม่เข้าที่เข้าทางอุปกรณ์ต่างๆเมื่อมันทำงานมันจะเกิดความร้อนขึ้นทำให้กระแสมันเปลี่ยนไป... เอ้า..!! ปรับกันอีกสักทีให้ได้ตามเป้า 0.6mV ..OK ปรับใหม่ได้แล้ว.. :afro: เย้ๆๆๆ  :police25: :police25:

-จากนั้นปลดปากคีบที่ช็อต IN กับ GND ออก ทดลองป้อนสัญญาณเสียงเปิดฟังเบาๆ.....โอ้โห.!! :102: :102:..เสียงดีจังเลย อิอิ เปิดวอร์มไปเบาๆ ในระหว่างนี้ก็หาอะไรเย็นๆจิบไปเรื่อยๆ :icecream: :40: :40:

-หมดไปอีกหนึ่งเหยือก..อิอิ  :20:มาวัดแรงดันออฟเซ็ตและกระแสไอเดิลกันอีกสักที เพื่อให้เครื่องของเรานิ่งและเสถียรที่สุด ทำการวัดซ้ำสัก 3-4 รอบ ทิ้งช่วงแต่ละครั้งประมาณ 10-30 นาที

-แค่นี้เราก็จะได้พาวเวอร์แอมป์ที่ทนทานและเสียงดี พร้อมลุยงานหนักกันแล้วครับ..เย้ๆๆๆๆๆๆๆๆ  :police25: :police25: (ต้องใจเย็นๆนะครับ อย่ารีบร้อน)

-เฮ้อ...กว่าจะเสร็จ หมดไป 1 ลัง อิอิ.. :sleepp: :sleepp:

ขอให้มีความสุขกับการประกอบแอมป์ครับ
ทิวา
DIGITCLASS

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version